วิธีแก้ไอ ได้ผลจริง หายเร็วอย่าบอกใคร

วิธีแก้ไอ

เนื่องจากว่าเมืองไทย อากาศเดี๋ยวฝน เดี๋ยวร้อน อากาศเปลี่ยนบ่อยขนาดนี้ ก็ป่วยกันได้ง่าย ๆ เหมือนกันและยิ่งถ้าเกิดว่ามีอาการไอร่วมด้วยยิ่งเป็นอะไรที่น่าหงุดหงิด ยิ่งต้องเจอกับคนอื่นด้วย การไอแบบควบคุมไม่ได้ มันยิ่งทำให้อึดอัดกับการเข้าสังคมไปอีก แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือ ยิ่งไอมาก ๆ ยิ่งเจ็บคอ มีอาการอื่นเพิ่มมาอีก วันนี้เรา sporttodaynews.com จึงมาแชร์ วิธีแก้ไอ แบบเร็ว และได้ผลจริง จะมีวิธีไหนบ้าง ต้องไปดูในบทความวันนี้เลย

แชร์ 5 วิธีแก้ไอ แบบทันใจ หายจริง

แชร์ 5 วิธีแก้ไอ แบบทันใจ

การไอเป็นอะไรที่น่ารำคาญสำหรับคนที่ต้องพบเจอกับผู้คนเยอะ ๆ หรือว่าจะต้องใช้เสียง วันนี้เราจึงหยิบเอาวิธีแก้ไอ ที่ได้ผลจริง ๆ มาแนะนำทุกคนให้ไปลองทำตามกันดู ดดยวิธีที่จะแนะนำนี้ เป็นวิธีที่สามารถช่วยให้อาการไอหายเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งมี 5 วิธี ดังนี้เลย

  1. ดื่มน้ำเยอะ ๆ เนื่องจากอาการไออาจจะเป็นเพราะเสมหะในลำคอ การดื่มน้ำจะช่วยเจือจางเสมหะ บรรเทาการระคายเคืองคอหรือคอแห้ง ซึ่งจะช่วยลดอาการไอให้น้อยลงได้ >> คนดื่มน้ำน้อยต้องดู! เทคนิค เพิ่มการดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ
  2. เลือกดื่มน้ำอุ่น และอาจจะผสมน้ำผึ้งและมะนาว เข้าไปด้วยจะยิ่งดี เพราะจะช่วยให้ชุ่มคอและช่วยบรรเทาอาการไอได้
  3. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมกับวัยของตัวเอง
  4. ให้นอนหนุนหมอนสูงขณะนอนหลับ จะสามารถบรรเทาอาการไอแห้งได้
  5. อมยาอม ที่มีตัวยาฆ่าเชื้อด้วยยิ่งดี เพื่อช่วยลดการระคายเคืองในคอ

สาเหตุของอาการไอ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

การเกิดอาการไอ หรือระคายเคืองที่ลำคอ อาจจะมีสาเหตุดังนี้

  • มีโรคประจำตัว ที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคไซนัสอักเสบ วัณโรคปอด โรคภูมิแพ้ เป็นต้น
  • การที่ต้องเจอกับมลภาวะทางอากาศ เช่น ฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาของหลาย ๆ จังหวัดในไทยตอนนี้
  • เกิดจากการแพ้น้ำหอม ไม่ว่าจะเป็นจากลูกหอม หรือจากน้ำหอมแบบสเปรย์ฉีดตัว หรือว่าสเปรย์ฉีดอากาศ
  • การสำลักอาหาร หรืออาจมีภาวะกลืนลำบาก ทำให้เกิดการขัดข้องในการกลืน
  • อาการไอที่สืบเนื่องมาจากการป่วยอื่น ๆ อย่างเช่น อาการไอในผู้ป่วยที่มีอาการ Long Covid เป็นต้น

4 อาการไอ ที่ควรไปพบแพทย์ทันที

4 อาการไอ ที่ควรไปพบแพทย์ทันที

ถ้าเกิดว่าคุณมีอาการไอแบบที่ไม่รุนแรงมาก ก็อาจจะคิดได้ว่าเป็นอาการที่ไม่น่ากลัวนัก สามารถรักษาได้ด้วยตนเองเลย แต่ถ้าเกิดว่ามีอาการตาม 4 ข้อที่เราจะบอกต่อไปนี้ ให้ไปพบแพทย์ด่วน เพราะคุณอาจจะไม่ได้มีอาการไอแบบปกติแล้ว 

  • มีการไออย่างต่อเนื่อง แบบเรื้อรังมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป
  • มีการไอที่มีมูกเลือด หรือเสมหะร่วมด้วย
  • มีการไอที่รุนแรง จนทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก
  • ผู้ไอมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือ โรคหัวใจ เป็นต้น

ป้องกันการไอได้อย่างไร?

ในหลาย ๆ ครั้งการหลีกเลี่ยงอาการไออาจจะเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากว่ามีความจำเป็นบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากสาเหตุการไอได้ทั้งหมด แต่ก็ยังสามารถลดความเสี่ยงลงได้ แม้ว่าจะเลี่ยงจากอาการไอได้ยาก เช่น การป้องกันมลพิษทางอากาศด้วยการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือดื่มน้ำเยอะ ๆ เป็นประจำเพื่อรักษาความชุ่มชื่นให้กับลำคอเสมอ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะดีที่สุด