กีฬาวูซู ได้ถูกบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เมื่อปี 1990 โดยเริ่มประลองฝีมือกันครั้งแรกที่เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2018 ที่อินโดนีเซียนั่นเอง ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับกีฬาชนิดนี้กัน
ทำความรู้จักกับ กีฬาวูซู ศิลปะป้องกันตัวของจีน ที่มีประวัติอย่างยาวนาน

1. ทำประวัติของ กีฬาวูซู ศิลปะป้องกันตัวของจีน
1) ประวัติกีฬาวูซู
กีฬาวูซู เป็นศิลปะการต่อสู้ของจีน และเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมที่มีความยาวนาน และเมื่อมีการแพร่ขยายออกไป โดยชาวจีนโพ้นทะเล ทำให้ผู้คนโดยทั่วไปได้รู้จักวิชาวูซู ในชื่อว่า กังฟู ต่อมา เมื่อจีนได้เปิดประเทศ และได้ให้การพัฒนาวิชาวูซู เป็นกีฬา จึงได้ให้การเรียกขานให้ถูกต้องว่า วูซู (WUSHU) นอกจากนี้ วิชาวูซูยังเป็นวิชาต้นแบบของวิชาต่อสู้ป้องกันตัวที่มีชื่อในหลายวิชาของทวีปเอเชียอีกด้วย
ซึ่งประเทศไทยนั้น ก็ได้รับอิทธิพลวิชาวูซู นับตั้งแต่มีชาวจีนอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อครั้งในอดีต และมีการฝึกสอน พร้อมถ่ายทอดกันเฉพาะแก่ลูกหลานชาวจีน จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย แม้แต่ปัจจุบัน ชาวไทยจะรู้จักวิชาวูซู แต่เพียงการรำมวยจีน เป็นการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับการจำลองทางกายภาพของสัตว์หรือวิธีการฝึกอบรมแรงบันดาลใจจากปรัชญาจีน ศาสนา และตำนาน ลักษณะที่มุ่งเน้นของพลังงาน จัดการได้รับการระบุเป็นระบบภายใน เพื่อสุขภาพเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีสมาคมสหพันธ์วูซูแห่งประเทศไทย ที่ทำหน้าที่ในการเผยแพร่สิชาวูซู และส่งเสริมพัฒนากีฬาวูซูภายในประเทศให้มีระดับมาตรฐาน เพื่อการพัฒนาสุขภาพพลานามัยแก่บุคคลทั่วไป อีกทั้ง สมาคมฯ ยังเป็นองค์กรบริหารกิจการกีฬาวูซูภายในประเทศ และเป็นผู้แทนประเทศไทยในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวูซูในระดับซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์อีกด้วย
2. กติกาการเล่น กีฬาวูซู
1) ประเภทยุทธลีลา
- ยุทธลีลาสฉางฉวน (มวยยาวหรือมวยเหนือ)
- ยุทธลีลาหนาวฉวน (มวยใต้)
- ไท้จี๋ฉวน (มวยไทเก็ก)
- ยุทธลีลากระบี่
- ยุทธลีลาดาบ
- ยุทธลีลาไม้พลองยาว
- ยุทธลีลาทวน

2) การแข่งขัน และการนับแต้ม
การแข่งขันยุทธลีลา ใช้เวลาในการแสดงไม่ตำกว่า 1 นาที 20 วินาที โดยเกณฑ์การตัดสินทั้ง 7 ประเภทนั้น จะเริ่มจากค่าคะแนน 10 คะแนน แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- ท่าทางยุทธลีลา 6 คะแนน
- การประสานพลังยุทธต่อเนื่อง 2 คะแนน
- คุณสมบัติที่มี 6 ประการ 2 คะแนน
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันประลองยุทธ เป็นการต่อสู้ตัวต่อตัว ปัจจุบันจึงมีเฉพาะแต่ในประเภทชายเท่านั้น มีทั้งประเภททีมและบุคคล ซึ่งเวลาชก ยกละ 2 นาที พัก 1 นาที กำหนดคู่ละ 3 ยก ถ้าชนะกัน 2 ยก ก็ถือว่า ชนะเลย แต่ถ้าชนะกันคนละยกก็ต้องชกยกที่ 3 เพื่อตัดสินผลแพ้ชนะ นอกจากนั้น ยังแบ่งการแข่งขันออกตามรุ่นน้ำหนัก ได้แก่ รุ่น 52 -56 – 60 – 65 – 70 – 75 – 80 – 85 – 90 และ 90 กก.ขึ้นไป โดยนักกีฬาคนหนึ่ง สามารถเข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (ในเวลาต่างกัน)
3) การได้และเสียคะแนน
- ฝ่ายใดตกเวที 1 ครั้ง คู่ต่อสู้จะได้ 3 คะแนน
- เตะคู่ต่อสู้ถูกลำตัว 1 ครั้ง ได้ 2 คะแนน
- เตะหน้าขาคู่ต่อสู้ 1 ครั้ง ได้ 1 คะแนน
- ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกเตือน อีกฝ่ายจะได้ 1 คะแนน
- ถ้าเหวี่ยงล้มทั้งคู่ ฝ่ายล้มทีหลังจะได้ 1 คะแนน
4) การต่อสู้ที่คะแนนตามจุดของร่างกาย
- ลำตัว
- หัว
- แขน
- ขา

5) จุดที่ผิดกติกา
- จู่โจมท้ายทอย ท้องน้อย คอหอย ผ่าหมาก
- หัวชน ศอก เข่า
- จู่โจมศีรษะแบบต่อเนื่อง (ซ้ำ)
- จับหักข้อต่อ
- ทำให้คู่ต่อสู้ล้มหัวฟาดพื้น
- จู่โจมซ้ำเมื่อคู่ต่อสู้ล้มลง
- เข้ากวดคู่ต่อสู้อย่างเดียวไม่ต่อสู้
6) การปรับให้แพ้ในหลายกรณี
- ในแต่ละยกถ้าไม่กลับเข้าสู่สภาพพร้อมที่จะต่อสู้ภายใน 10 วินาที ก็จะปรับให้แพ้ทันที
- แพ้เพราะฟาวล์
- ถูกนับ 8 สองหน ปรับให้แพ้ในยกนั้น
7) การหยุดการแข่งขันชั่วคราว ทำได้ต่อเมื่อ
- นักกีฬาล้มลงหรือตกเวที , บาดเจ็บ
- นักกีฬากอดกันนานเกินกว่า 2 วินาที
- จรดท่าต่อสู้กันนานเกินกว่า 8 วินาที
- จากเหตุอื่น ๆ อีก
และนี่ก็เป็นเรื่องราวของ กีฬาวูซู ที่เรานำมาฝากทึกคน ได้ทำความรู้จักกับมวยจีน หรือ วูซู เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งกีฬาวูซู นอกจากจะเป็นกีฬาที่น่าสนใจในการแข่งขันซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์แล้วนั้น ยังเป็นกีฬาที่คนทั่วไปอย่างเรา ๆ สามารถลองเล่นดูได้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้อีกด้วย
นอกจากกีฬาวูซูแล้ว เรามาทำความ รู้จักกับประวัติของสเก็ตบอร์ด พร้อมบอร์ดที่มือใหม่ควรเล่น กีฬาที่กำลังมาแรงสุด ๆ ในบ้านเรา และดูเหมือนจะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
แล้วมาทำความรู้จักกันต่อกับ 6 นักกีฬาปิงปองไทยฝีมือดี ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ซึ่งต้องยอมรับเลยว่า ในบ้านเราเองนั้นก็ให้ความสำคัญกับกีฬาปิงปองไม่แพ้กีฬาชนิดอื่นเลยทีเดียว แถมนักกีฬายังมีความสามารถ จนก้าวไปคว้าชัยชนะระดับโลก และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศของเราได้อีกด้วย